4 วิธีออมเงินสำหรับฟรีแลนซ์
นอกจากสกิลการจัดสรรเวลาในการทำงานแล้ว ? สิ่งที่สำคัญไม่แพ้กันคือสกิลการวางแผนทางการเงิน
.
1. เงินออมเผื่อไว้ในกรณีฉุกเฉิน
อย่างที่เราๆทราบกันดีว่างานฟรีแลนซ์นั้นมีรายได้ที่ไม่แน่นอน (แต่รายจ่ายแน่นอน)
ดังนั้นพี่อินดี้ขอแนะนำว่า เราควรจะมีเงินออมสำหรับเหตุฉุกเฉิน ไม่ว่าจะเป็นการเจ็บไข้ได้ป่วยหรือค่าใช้จ่ายที่เราไม่คาดคิด ซึ่งเกิดขึ้นได้อยู่เสมอ เพื่อความอุ่นใจเราควรมีเงินไว้สำรองอย่างน้อย 3 เดือนข้างหน้า เรียกว่ามีไว้กันเหนียวนั่นเอง
.
2.เงินออมสำหรับสวัสดิการของตนเอง
อาชีพฟรีแลนซ์นั้นถึงแม้ว่าจะไม่ได้รับเงินบำนาญเหมือนกับข้าราชการ แต่ก็ยังมีสิทธิหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า (บัตรทอง) โดยสามารถโทรฯ เข้าไปเช็กสิทธิได้ที่ 1330 สปสช. รวมทั้งมีการประกันสังคมแบบสมัครใจในกรณีที่เคยเป็นลูกจ้างมาก่อน โดยจะมีการขอรับสิทธิประโยชน์ในกรณีว่างง่าน ซึ่งสามารถติดต่อสอบถามได้ที่ สำนักงานประกันสังคมทั่วประเทศ
.
3. เงินออมสำหรับการลงทุน
พี่อินดี้อยากแนะนำให้เก็บเงินออมส่วนหนึ่งไว้สำหรับลงทุนในกองทุน LTF (กองทุนรวมหุ้นระยะยาว) หรือ RMF (กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ)
เพื่อเป็นการลดภาระทางการจ่ายภาษีและนอกจากนี้ยังเป็นการลงทุนในสินทรัพย์ระยะยาว เนื่องจากพี่อินดี้มองว่า เดี๋ยวนี้การฝากประจำในธนาคารเพื่อกินดอกเบี้ยดูจะให้ผลตอบแทนที่ไม่ดีนัก เราควรมีเงินส่วนหนึ่งเอาไว้ลงทุนเพื่อเก็บเกี่ยวผลกำไรไว้ใช้ได้บ้างในยามเกษียณ
.
4. เงินออมสำหรับซื้อความสุขส่วนตัว
ทำงานมาอย่างเหนื่อยยากจะไม่ให้มีเงิน
ไว้ซื้อของที่ชอบหรือทำในสิ่งที่ใช่ก็ดูจะเป็นการซีเรียสเกินไปสักหน่อย เราควรให้รางวัลกับตัวเองบ้าง ไม่ว่าจะเป็นการช้อปปิ้ง การท่องเที่ยว การไปชมคอนเสิร์ต ฯลฯ ทั้งนี้เราก็ควรที่จะต้องมีการวางแผนในการใช้จ่ายอีกเช่นเคย ยกตัวอย่างเช่น ถ้าเราอยากไปเที่ยวต่างประเทศซึ่งมีค่าใช้จ่ายในการเดินทางประมาณ 50,000 บาท เราก็ควรจะวางแผนในการออมเงินไว้ที่เดือนละประมาณ 4,200 บาท แบบนี้เป็นต้น
.