จดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์’ ชาวร้านค้าออนไลน์ไม่รู้ไม่ได้

จดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์’ ชาวร้านค้าออนไลน์ไม่รู้ไม่ได้

เพื่อน ๆ ชาวอินดี้คนไหนเปิดร้านค้าออนไลน์กันบ้าง ด้วยสถานการณ์ในช่วงนี้หลาย ๆ คน ผู้มีหัวธุรกิจคงหันมาเปิดร้านค้าออนไลน์กันมากขึ้น แต่การเปิดร้านค้าออนไลน์มีข้อกำหนดหลาย ๆ อย่างมากมายที่พ่อค้าแม่ค้า ควรรู้เอาไว้ด้วยนะ นั่นก็คือ“จดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์” มันคืออะไร ทำไมต้องจด ไปหาคำตอบกันเลย

ทำไม? ต้อง จดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์

มีข้อมูลจาก กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ ระบุว่า การจดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์นั้น ก็เพื่อให้ธุรกิจมีความน่าเชื่อถือ จากการมีสถานะตัวตนทางกฎหมาย และเพื่อเป็นประโยชน์ในการทำธุรกรรมกับหน่วยงานต่างๆ อีกทั้งยังจะช่วยสร้างความมั่นใจให้ผู้บริโภค

 

โดยกรมพัฒนาธุรกิจการค้าอาศัยอำนาจตามกฎหมายทะเบียนพาณิชย์ กำหนดให้ผู้ขายสินค้าหรือบริการทางอินเทอร์เน็ต ทั้งเว็บไซต์ร้านค้าออนไลน์หรือ Social Media ต้องจดทะเบียนพาณิชย์การประกอบธุรกิจพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ เพื่อให้ผู้ประกอบการแสดงตนอย่างเปิดเผยต่อทางราชการ

 

ประโยชน์ของการ จดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์

นอกจากการจดทะเบียนฯ จะช่วยเพิ่มความน่าเชื่อถือให้ธุรกิจแล้ว ยังมีประโยชน์อื่นๆ ต่ออาชีพ "ขายออนไลน์" ด้วย  ได้แก่

 

  1. หลังจดทะเบียนฯ เจ้าของธุรกิจจะมีสิทธิ์ในการเข้ารับการอบรม ตามหลักสูตรที่กรมพัฒนาธุรกิจการค้ากำหนด ถือเป็นโอกาสในการพัฒนาความรู้ด้านธุรกิจ การบริหารร้านค้า เรียนรู้เทคนิคการตลาดแบบไม่มีค่าใช้จ่าย

 

  1. ช่วยสร้างเครดิตให้กับ “ร้านค้าออนไลน์” ในสายตาของสถาบันการเงิน ไม่ว่าจะเป็นการขอสินเชื่อเงินกู้ ยื่นขอกู้เงินทุนหมุนเวียน หรือแม้แต่การขอสินเชื่อเรื่องอื่นๆ ก็สามารถใช้ทะเบียนร้านค้าพาณิชย์เป็นหลักฐานประกอบการยื่นเอกสารทางการเงินได้เช่นกัน

 

  1. ช่วยให้หน่วยงานภาครัฐเก็บข้อมูลสถิติร้านค้าออนไลน์ได้ง่ายขึ้น รัฐจะได้สามารถดำเนินการตามนโยบายทางเศรษฐกิจได้อย่างเหมาะสม ไม่ว่าจะเป็นการลงทุน, การช่วยเหลือผู้ประกอบการ, การสนับสนุนธุรกิจออนไลน์, การลงทุนต่างประเทศ ฯลฯ

 

หากไม่ จดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์มีสิทธิ์ถูกปรับ

ผู้ค้าออนไลน์ทุกคนจะต้องรู้จัก “ประกาศกระทรวงพาณิชย์ ฉบับที่ 11 พ.ศ. 2553 มาตรา 5” ซึ่งบังคับให้ผู้ประกอบพาณิชยกิจ ดังต่อไปนี้ ต้องจดทะเบียนพาณิชย์ ได้แก่ กิจการที่มีการซื้อ-ขายสินค้าหรือบริการ โดยวิธีการใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต

 

หรือการบริการเป็นตลาดกลางในการซื้อขายสินค้าหรือบริการ โดยวิธีใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต (ไม่ว่าจะเป็นบุคคลธรรมดา ห้างหุ้นส่วนสามัญ ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ หรือบริษัทมหาชนจำกัดทุกท้องที่ทั่วราชอาณาจักร)

 

ดังนั้น การขายสินค้าออนไลน์ จึงนับเป็นพาณิชยกิจที่ต้องจดทะเบียนตามประกาศกระทรวงพาณิชย์ฉบับดังกล่าว

 

อีกทั้ง ผู้ค้าออนไลน์ต้องรู้จัก “พ.ร.บ.ทะเบียนพาณิชย์ พ.ศ.2499” เอาไว้ด้วย เนื่องจากเป็นกฎหมายที่กำหนดบทลงโทษไว้ในมาตรา 19 ที่ระบุว่า

 

หาก “ร้านค้าออนไลน์” ไม่จดทะเบียนตาม พ.ร.บ. ฉบับนี้ หรือแสดงรายการเท็จ หรือไม่มาให้นายทะเบียนพาณิชย์สอบสวน ไม่ยอมให้ถ้อยคำ หรือไม่ยอมให้ทะเบียนพาณิชย์หรือพนักงานเจ้าหน้าที่เข้าไปตรวจสอบนั้น จะต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 2,000 บาท และให้ปรับอีกวันละ 100 บาท จนกว่าจะจดทะเบียนแล้วเสร็จ

 

ใครบ้างที่ต้องจดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์?

  1. ผู้ขายสินค้า/บริการ ผ่านระบบอินเทอร์เน็ต และ Social Media

 

  1. ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต (Internet Service Provider : ISP)

 

  1. ผู้ให้เช่าพื้นที่ของเครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่าย (WebHosting)

 

  1. ผู้ให้บริการเป็นตัวกลางในการซื้อขายสินค้า/บริการ ผ่านอินเทอร์เน็ต (E-Marketplace) เช่น Lazada Shopee ฯลฯ

 

โดยต้องขอจดทะเบียนภายใน 30 วัน นับตั้งแต่วันเริ่มค้าขาย ผู้ค้าต้องทำเว็บไซต์ที่จะใช้ขายสินค้าให้เรียบร้อย เช่น ลงรูปสินค้า คำบรรยาย ราคา วิธีชำระเงิน และวิธีจัดส่งให้ครบถ้วน

 

ขั้นตอนการยื่นจดทะเบียนฯ และเช็กจุดให้บริการ

ผู้ขายสินค้าหรือบริการผ่านทางออนไลน์ สามารถเดินทางไปจดทะเบียนพาณิชย์ ณ สำนักงานเขตในกรุงเทพมหานคร เมืองพัทยา เทศบาล หรือองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) ตามที่ตั้งของสถานประกอบการหรือตามที่อยู่ของผู้ขาย โดยเอกสารที่จำเป็น ได้แก่ บัตรประชาชนตัวจริง สำเนาบัตรประชาชน รูปหน้าแรกของเว็บไซต์ (Print เป็นเอกสารเตรียมไปด้วย)

 

ส่วนขั้นตอนการยื่นจดทะเบียน และเอกสารสำคัญที่ใช้จดทะเบียนพาณิชย์เล็กทรอนิกส์  มีดังนี้

 

  1. แสดงบัตรประจำตัวประชาชนตัวจริง พร้อมแจ้งว่ามาจดทะเบียนฯ

 

  1. ขอเอกสารแบบคำขอจดทะเบียนพาณิชย์ (แบบ ทพ.)

 

  1. กรอกรายละเอียดเกี่ยวกับเว็บไซต์(เอกสารแนบแบบ ทพ.) กรอก 1 ใบต่อ 1 เว็บไซต์

 

  1. เตรียมเอกสารที่ Print หน้าแรกของเว็บไซต์

 

  1. วาดแผนที่ตั้งการประกอบพาณิชยกิจ

 

  1. หนังสือรับรองการจดทะเบียนของห้างหุ้นส่วนหรือบริษัท (กรณีจดในนามนิติบุคคล)

 

  1. กรณีมอบอำนาจให้ผู้อื่นมาจดแทน ต้องมีหนังสือมอบอำนาจ พร้อมสำเนาบัตรประชาชนของทั้งผู้มอบอำนาจและผู้รับมอบอำนาจ

 

วิธีขอเครื่องหมาย “DBD REGISTERED” รับรองธุรกิจออนไลน์

เมื่อพ่อค้าแม่ค้าออนไลน์ ผ่านขั้นตอนการยื่นจดทะเบียนฯ เรียบร้อยแล้ว จากนั้นก็สามารถขอใช้เครื่องหมายรับรองผู้ประกอบธุรกิจพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ หรือที่เรียกว่าเครื่องหมาย “DBD Registered” ได้เลย โดยเครื่องหมายนี้มีประโยชน์คือ ใช้แสดงความมีตัวตนในการประกอบธุรกิจ e-Commerce โดยแสดงไว้บนหน้าเว็บไซต์ร้านค้าของคุณ และสามารถคลิกตรวจสอบข้อมูลความมีตัวตนมายัง www.trustmarkthai.com ได้

 

สำหรับช่องทางในการยื่นขออนุญาตใช้เครื่องหมาย “DBD Registered” สามารถแจ้งขอใช้เครื่องหมายฯ ได้ที่ กองพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า โทร. 0-2547-5960 หรือ เว็บไซต์ www.trustmarkthai.com หรือ ส่งเอกสารมาที่ e-Mail : e-commerce@dbd.go.th หรือ โทรสาร 0-2547-5973

 

NOTE : เครื่องหมายรับรองผู้ประกอบธุรกิจพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ จะมีอายุการใช้งานเป็นเวลา 5 ปี นับแต่วันที่กรมอนุมัติให้มีกำหนดใช้

 

ขอขอบคุณที่มา : POST family กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ กรุงเทพธุรกิจ

 

ได้ทราบกันแล้วใช่มั้ยล่ะ อย่าลืมไปจดทะเบียนกันให้เรียบร้อยถูกต้องกันด้วยนะ จะได้ค้าขายกันอย่างถูกต้องหายห่วง ไม่มีปัญหาทางด้านกฎหมายกันด้วยนะ แต่ถ้าหากกำลังมองหา นักการตลาดออนไลน์ มาที่ JOBindy ได้เลย

 

JOBIndy คือแพลตฟอร์มสำหรับฟรีแลนซ์ยุคใหม่

เรามีฟรีแลนซ์คุณภาพมากมายให้คุณได้เลือกสรร

ครบครันทุกหมวดหมู่ ตรงใจคุณอย่างแน่นอน

 

ฟรีแลนซ์งานสายออนไลน์ มีเพียบ

ทั้ง นักการตลาดออนไลน์ รับทำคอนเทนต์ ดูแลเพจ หรือรับทำโฆษณาในเพจ

ตอบโจทย์พ่อค้าแม่ค้า ที่กำลังจะเปิดร้านค้าออนไลน์ได้เป็นอย่างดีเลย

 

หากมองหาฟรีแลนซ์ นึกถึง JOBIndy

------------------------------------------------------------

อย่าลืมกดไลก์ กดแชร์ กดติดตาม เพจ Job Indy และกด See First

รวมไปถึงช่องทาง

LineOA : @Jobindy

Twitter : @JOBIndyOficial

และสามารถเข้าไปโชว์ของ ขายงานได้ที่

www.jobindy.co

จะได้ไม่พลาดเรื่องราวดี ๆ เพื่อชาวฟรีแลนซ์

xx
กำลังโทรหา Video Call...