เรื่องน่ารู้ เกี่ยวกับ “เช็ค” ชนิดต่าง ๆ

เรื่องน่ารู้ เกี่ยวกับ “เช็ค” ชนิดต่าง ๆ

เพื่อน ๆ ชาวฟรีแลนซ์ ไม่ว่าจะสายอาชีพไหน ก็อาจมีโอกาสได้รับเช็คเงินกันทั้งนั้น โดยเฉพาะเมื่อเราได้ทำงานกับองค์กรใหญ่ ๆ หรืองานที่มีมูลค่าสูง ๆ พี่อินดี้เลยเอาความรู้เกี่ยวกับเช็คแต่ละชนิดมาฝากเพื่อน ๆ กัน เราจะได้ไม่งงเวลาเราได้เช็คมากันนะ

เช็ค เป็นอีกหนึ่งรูปแบบ นวัตกรรมทางการเงินที่ได้รับความนิยม สำหรับผู้ที่ประกอบธุรกิจ ตามกฎหมายของไทยได้กำหนดให้เช็คที่ใช้ในการพาณิชย์มี 2 รูปแบบใหญ่ๆ คือ

 

  1. เช็คระบุชื่อ เป็นเช็คที่ผู้สั่งจ่ายเขียนขึ้นเพื่อสั่งธนาคารให้จ่ายเงินโดยระบุชื่อผู้รับเงิน หรือให้ใช้ตามคำสั่งของบุคคลนั้น หมายความว่า เช็คฉบับดังกล่าวจะสามารถนำไปขึ้นเงินที่ธนาคารได้โดยจะจ่ายเงินให้กับผู้ที่มีชื่อรับเงินอยู่ในเช็คแต่เพียงผู้เดียวเท่านั้น

 

  1. เช็คผู้ถือ คือเช็คที่ผู้สั่งจ่ายเขียนออกให้โดยสั่งธนาคารให้จ่ายเงินแก่ผู้ถือหรือจ่ายตามคำสั่งของผู้ถือ และครอบคลุมถึงเช็คที่ระบุชื่อผู้รับเงินแต่ก็มีคำว่า “ผู้ถือ” รวมอยู่ด้วย พูดง่ายๆ ก็คือเช็คฉบับดังกล่าวจะไม่มีการลงชื่อสั่งจ่ายเอาไว้ใครก็ตามที่ถือเช็คดังกล่าวอยู่สามารถเอาไปขึ้นเงินที่ธนาคารได้ทันที

 

แต่ว่าเราก็จะได้ยินชื่อแปลก ๆ เกี่ยวกับเช็คมากมาย สรุปแล้วเช็คมันมีกี่แบบกันแน่นะ พี่อินดี้ของบอกเลยว่ามีเยอะอยู่

พอสมควร มาดูกันว่า เช็ค จะมีกี่ประเภทกันแน่

 

เช็ค แบ่งออกเป็น 7 ประเภท ตามรูปแบบการใช้งานทางธุรกรรม

 

  1. เช็คเงินสด หรือผู้ถือ (Cash or Bearer’s cheque) เป็นเช็คที่ผู้ถือสามารถนำไปขึ้นเงินกับทางธนาคารได้โดยทันที แต่ถ้ายังไม่ประสงค์จะขึ้นเงินก็สามารถนำไปฝากเข้าบัญชีของตนเองได้ ถ้าจะมีการโอนเช็คไปให้แก่ผู้อื่นก็ไม่ต้องมีการเขียนสลักหลังแต่ประการใด

 

  1. 2. เช็คระบุชื่อผู้รับเงิน (Order’s cheque) คือเช็คที่ผู้สั่งจ่ายระบุชื่อผู้รับเงินลงไปในเช็ค ซึ่งผู้รับเงินจะต้องนำเช็คไปเบิกเงินด้วยตนเอง หรือถ้าจะโอนให้ผู้อื่นจะต้องทำการสลักหลังโดยเซ็นชื่อด้านหลังเช็คด้วย

 

  1. เช็คของธนาคาร (Cashier’s Cheque or Treasurer’s Cheque) ธนาคารจะออกเช็คชนิดนี้ให้แก่ลูกค้าที่นำเงินสดมาซื้อเช็คกับทางธนาคาร โดยในตัวเช็คจะมีลายเซ็นของพนักงานผู้มีอำนาจในธนาคารเซ็นรับรองกำกับไว้ จึงเป็นเช็คที่ใช้ภายในพื้นที่ท้องถิ่นของธนาคารนั้น ๆ จะไปใช้ต่างพื้นที่หรือซื้อดราฟต์ไม่ได้

 

  1. เช็คที่ธนาคารรับ (Certified Cheque) ธนาคารจะรับรองเช็คชนิดนี้ก็ต่อเมื่อผู้สั่งจ่ายมีเงินอยู่ในบัญชีเพียงพอ ซึ่งทางธนาคารจะประทับตราว่า “ใช้ได้” พร้อมกับวันที่และลายเซ็นของพนักงานที่มีอำนาจรับผิดชอบจากทางธนาคารด้วย

 

  1. 5. เคาน์เตอร์เช็ค (Counter Cheque) เป็นเช็คของธนาคารใช้ในกรณีที่เจ้าของบัญชีต้องการใช้เงินโดยกระทันหันแต่ลืมเอาสมุดบัญชีไป ธนาคารก็จะออกเช็คชนิดพิเศษแบบนี้ให้เขียนสั่งจ่ายเงิน โดยเช็คประเภทนี้จะใช้ได้เฉพาะภายในธนาคารเท่านั้นจะโอนสลักหลังให้แก่ผู้อื่นไม่ได้

 

  1. เช็คสำหรับผู้เดินทาง (Traveler’s Cheque) เหมาะสำหรับนักเดินทางที่ไม่ต้องการที่จะพกเงินสดติดตัวไปด้วยเป็นจำนวนมาก ๆ ซึ่งอาจจะมีปัญหาในเรื่องของความไม่ปลอดภัยเกิดขึ้นได้ โดยทางธนาคารจะเปิดโอกาสให้ผู้สนใจได้แลกซื้อเช็คชนิดได้ตามสาขาต่าง ๆ

 

  1. ดราฟต์ธนาคาร (Banks Draft) เป็นเช็คในอีกลักษณะหนึ่งที่ทางธนาคารจะมีคำสั่งไปยังธนาคารอีกแห่งหนึ่งหรืออีกสาขาหนึ่ง ให้จ่ายเงินในจำนวนที่กำหนดไว้แก่บุคคลที่ถูกระบุชื่อไว้บนดราฟต์ โดยดราฟต์ของธนาคารจะมีไว้เพื่อส่งเงินไปต่างพื้นที่ทั้งภายในและภายนอกประเทศ จึงแตกต่างจาก Cashier’s Cheque อย่างสิ้นเชิง

 

ขอบคุณข้อมูล: (https://www.smartsme.co.th/content/7165)

 

 

ทีนี้รู้กันแล้วนะว่าเช็คมีกี่ประเภท และใช้งานกันยังไง หลังจากที่เราได้รับเช็คมาก็อย่าลืมสอบถาม ตรวจสอบกับทางลูกค้า ผู้ว่าจ้างกันด้วย ว่าจ่ายเป็นเช็คชนิดไหน เราจะได้ดำเนินการให้ถูกต้อง หรือถ้าเราเป็นฟรีแลนซ์ละรับงานในนามบริษัท แล้วไม่อยากปวดหัวเรื่องธุรกรรม การมีนักบัญชีฟรีแลนซ์ หรือที่ปรึกษาทางด้านการเงินคู่ใจเอาไว้ก็เป็นเรื่องที่ดี

 

ที่ JOBIndy แพลตฟอร์มรุ่นใหม่

ที่รวบรวมฟรีแลนซ์ หลากอาชีพ ฝีมือขั้นเทพ เอาไว้มากมาย

ทั้งนักบัญชี นักการตลาดออนไลน์ และที่ปรึกษาทางการเงิน

ครอบคลุม ครบครัน ตอบโจทย์ทุกความต้องการของคุณ

 

คิดถึงฟรีแลนซ์ คิดถึง JOBIndy

 

สมัครเป็น Member หรือ อยากโชว์ผลงาน

มาที่นี่เลย www.jobindy.co

 

------------------------------------------------------------

อย่าลืมกดไลก์ กดแชร์ กดติดตาม เพจ Job Indy และกด See First

รวมไปถึงช่องทาง

LineOA : @Jobindy

Twitter : @JOBIndyOficial

และสามารถเข้าไปโชว์ของ ขายงานได้ที่

www.jobindy.co

จะได้ไม่พลาดเรื่องราวดี ๆ เพื่อชาวฟรีแลนซ์

xx
กำลังโทรหา Video Call...