6 ขั้นตอนการตกลงว่าจ้าง ที่ควรระบุใน “สัญญาจ้าง”

6 ขั้นตอนการตกลงว่าจ้าง ที่ควรระบุใน “สัญญาจ้าง”

ขั้นตอนให้ ฟรีแลนซ์รับงานแล้วจะไม่หนีหาย และลูกค้าได้งานแล้วจะไม่เบี้ยวเงิน

💥💥💥หนึ่งในปัญหาที่ชวนปวดหัวๆ ยอดนิยมของฟรีแลนซ์มือใหม่เลยก็คือ “การถูกเบี้ยวเงิน (หรือจ่ายค่าจ้างช้า)” เพราะฉะนั้นกันไว้ดีกว่าแก้ วันนี้พี่อินดี้มี 6 ขั้นตอนการตกลงว่าจ้าง ที่ควรระบุใน “สัญญาจ้าง” แบบที่เป็นลายลักษณ์อักษรเพื่อความอุ่นใจกันทั้ง 2 ฝ่าย

.

120702182_175648054115449_163

เพื่อป้องกันปัญหาแก้แล้วแก้อีก เติมตรงนู้นให้ด้วย ตรงนี้อยากได้อีกแบบนึง แก้กันจนปิดจ๊อบไม่ได้ซะที แบบนี้ก็แย่เลย เพราะฉะนั้น ให้ระบุลงในสัญญาแบบชัดเจนไปเลยว่า ค่าจ้างจำนวนเท่านี้ เราจะทำงานให้ในขอบเขตไหน (เกินกว่านี้ไม่ได้นะ) จะส่งงานให้ในรูปแบบอะไร และที่สำคัญมาก ห้ามลืมเด็ดขาดก็คือ จะสามารถแก้ไขงานได้กี่ครั้ง กันการสั่งแก้แบบไม่รู้จบ

 

120809783_175648074115447_768

ตามปกติจะคิดเป็นเปอร์เซ็นต์จากราคางานทั้งหมด ไม่ว่าจะ 30% หรือ 50% ก็แล้วแต่ สิ่งนี้จะเป็นตัวชี้วัดที่ดีว่าลูกค้าจริงจังและจริงใจกับการจ้างงานนี้หรือไม่ รวมทั้งเป็นค่าเสียหายในกรณีโปรเจคถูกพับจากเนื่องจากปัญหาทางฝ่ายลูกค้าเอง ซึ่งตัวเราเองก็จะไม่ต้องเสียเวลาไปฟรีๆ รวมถึงการคิดค่าเสียหายหากมีการยกเลิกสัญญาจ้าง เพราะอาจมีกรณีที่ลูกค้าหัวหมอ มาหลอกจ้างแล้วมาขอยกเลิกงาน แต่สุดท้ายแล้วก็เอาไอเดียของเราไปแบบเนียน ๆ

 

120734592_175648097448778_447

โดยปกติแล้วเจ้าของลิขสิทธิ์ผลงานจะเป็นของฟรีแลนซ์ที่ทำงานนั้นๆ นอกเสียจากว่าจะมีการตกลงให้ลิขสิทธิ์เป็นของผู้ว่าจ้าง รวมไปถึงกรณีที่มีการซื้อ Font หรือรูปภาพมากจากเว็บ Stock ต่าง ๆ ก็ต้องระบุให้ชัดเจนว่าใครจะเป็นผู้ถือลิขสิทธิ์

 

120707596_175648114115443_406

จะจ่ายรอบเดียว หรือแบ่งจ่ายเป็นกี่งวด ภายในกำหนดเวลาเท่าไหร่ ระบุให้ชัดเจนได้เลยค่ะ และอาจระบุค่าปรับด้วยก็ได้ถ้าลูกค้าจ่ายเงินช้ากว่าที่ตกลงกันไว้

 

120818188_175648140782107_622

หลายครั้งที่เรามักจะพบว่าส่งงานไปให้ลูกค้าดูแล้ว ลูกค้ากลับหายเงียบไปเลย ไม่ยอม Feedback กลับมา หรือเขียนโค้ดทำเว็บเสร็จแล้ว แต่ลูกค้ายังไม่ส่งคอนเทนต์มา เมื่อเป็นแบบนี้ก็เท่ากับว่าเสียเวลากันทั้งคู่ เพื่อป้องกันเหตุดังกล่าว ควรกำหนดเวลาไปเลยว่าลูกค้าต้องให้ Feedback เราภายในกี่วัน ต้องส่งข้อมูลทั้งหมดที่จะใช้ภายในกี่วัน ถ้าล่าช้ากว่านั้นก็อาจมีค่าปรับได้ แม้จะดูโหดไปหน่อยแต่วิธีนี้จะช่วยเราทำงานให้เสร็จในเวลาที่กำหนด ซึ่งเป็นผลดีกับทั้งฝ่ายเราและฝ่ายลูกค้าด้วย

 

120841816_175648160782105_693

เชื่อว่าหลายคนก็คงเคยเจอ โดยเฉพาะคนทำเว็บไซต์ ปิดงานไปแล้วเป็นปีๆ จู่ๆ ลูกค้าก็ทักมาบอกให้ไปแก้นู่นแก้นี่ให้ จริงๆ แล้วการบริการหลังการขายควรมี เพราะบางทีเราเองก็อาจทำงานผิดพลาดไปบ้าง แต่ถ้าปัญหามันเกิดขึ้นหลังจากงานเสร็จมาเป็นปี ก็อาจเป็นไปได้ว่ามันไม่ใช่ความผิดของเรา ในการซับพอร์ตส่วนนี้ก็ควรระบุไปด้วยว่า เราจะดูแลต่อเนื่องให้เป็นเวลา 1 เดือน หลังจากส่งงานแล้ว เกินจากนั้นไปก็ค่อยมาว่าจ้างกันใหม่อีกที่ เป็นอย่าง ๆ ไป

 

xx
กำลังโทรหา Video Call...