มารู้จัก! อาการ FOMO (Fear of Missing Out) ตกลงคุณเป็นอาการนี้หรือเปล่า

มารู้จัก! อาการ FOMO (Fear of Missing Out) ตกลงคุณเป็นอาการนี้หรือเปล่า

สวัสดีเพื่อน ๆ ชาวฟรีแลนซ์ อินดี้ทุกคนนน เชื่อว่าเพื่อน ๆ ฟรีแลนซ์ ในยุคนี้ต้องมีสมาร์ตโฟนติดตัวกันทุกคน ยิ่งเป็นสายมาร์เก็ตติ้ง สายทำการตลาดออนไลน์ หรือเป็นสายรับออกแบบสื่อ ยิ่งต้องใช้งานสมาร์ตโฟนตลอดเวลาอย่างแน่นอน วันนี้พี่อินดี้ก็มีบทความดี ๆ มาฝากให้เพื่อน ๆ มาเช็กอาการติดโซเซียลกันหรือเปล่า

FOMO หรือ Fear of Missing Out คืออาการกลัวตกเทรนด์ รู้สึกกังวลว่าตัวเองจะพลาดอะไรไปหรือเปล่า โดยเฉพาะเรื่องที่เป็นประเด็นร้อนในสังคม และรวมถึงเรื่องเล็ก ๆ อย่างประเด็นในกลุ่มเพื่อนอีกด้วย ซึ่งส่วนมากมักเกิดกับผู้ที่ใช้โซเชียลมีเดียอย่างหนัก จนปล่อยให้มันครอบงำชีวิตของเราเกินไป

 

ซึ่งอาการ FOMO นี้ ไม่ใช่เรื่องเล่น ๆ เพราะอาจส่งผลต่อสุขภาพกายและสุขภาพจิตได้เลย ไม่ว่าจะเป็นความเครียด อาการวิตกกังวล และอาการบาดเจ็บกล้ามเนื้อ จากการใช้สมาร์ตโฟนมากเกินไป (Social Media Addiction) อีกด้วย

 

สังเกตตัวเอง คุณมีอาการ FOMO หรือไม่ คนส่วนมากมักจะไม่ค่อยรู้ตัว ว่ากำลังตกเป็นเหยื่อของอาการนี้หรือเปล่า

 

  1. อารมณ์แปรปรวน เมื่อไม่ได้เล่นโซเชียล
  2. ใช้สมาร์ตโฟนมากกว่า 6 ชม./วัน
  3. ต้องอัปเดตตลอดเวลา ไถ Facebook ทุกชั่วโมง, รีทุกเทรนด์ Twitter, เช็ก IG Story ทุกครั้งที่ได้จับมือถือ
  4. กลัวตัวเองตกกระแส หรือรู้ข่าวช้ากว่าเพื่อน ๆ
  5. รู้สึกกังวล เมื่อถูกตำหนิบนโซเชียลมีเดีย
  6. รู้สึกไม่สบายใจ เวลาต้องเลื่อนนัด หรือไม่ได้ไปเจอแก๊งเพื่อน พร้อม ๆ กับคนอื่น
  7. มีอาการซึมเศร้า หรือมีความสุขน้อยลง เมื่อตัวเองไม่ได้รับความสนใจเท่าที่ต้องการ

 

ถ้าคุณมีอาการเหล่านี้เกิน 4 ข้อ บอกได้เลยว่า “คุณติดกับดักมันซะแล้ว!”

 

และรู้ไหมว่า 80% ของคนที่เข้าข่ายมีอาการ FOMO ยังเป็นคนเอเชียอีกด้วย แถมผลการสำรวจเมื่อปี 2020 ยังพบว่าคนไทยใช้งานอินเทอร์เน็ต ผ่านสมาร์ตโฟนสูงสุดเป็นอันดับที่ 3 ของโลก ซึ่งใช้เวลามากกว่า 6 ชั่วโมง/วัน หรือกินเวลาถึง 1 ใน 4 เลยล่ะ และอาการนี้ก็สามารถเกิดได้กับทุกเพศทุกวัยเลย โดยเฉพาะเหล่าวัยรุ่น เพราะเป็นวัยที่ต้องการค้นหาตัวเอง อยากเป็นที่ยอมรับ และต้องการได้รับความสำคัญมากกว่าวัยอื่น ๆ โซเชียลมีเดียจึงมีอิทธิพลกับคนกลุ่มนี้มากพอสมควรเลย

 

 

 

FOMO เป็นแล้วรักษาได้ไหม?

 

สำหรับคนที่อยากรักษาอาการเหล่านี้ จริง ๆ แล้วคนรอบข้างมีส่วนสำคัญมากที่จะคอยสังเกต และชวนกันทำกิจกรรม Outdoor หรือกิจกรรมอื่น ๆ ที่ไม่เกี่ยวข้องกับสมาร์ตโฟน แต่ก็มีวิธีสำหรับคนที่ต้องการบำบัดอาการติดโซเชียลด้วยตัวเอง คือ

 

  1. เปิดโหมดออฟไลน์ หนีจากการแจ้งเตือนบ้าง
  2. จำกัดชั่วโมงการเล่นโทรศัพท์มือถือต่อวัน แล้วใช้เวลาว่างไปกับงานอดิเรกที่ชอบ ไม่ว่าจะเป็นการฟังเพลง อ่านหนังสือ หรือออกไปคาเฟ่ ทานอาหารอร่อย ๆ ก็ช่วยได้
  3. Disconnect to Connect ใช้เวลากับเพื่อนและครอบครัวให้มากขึ้น เพื่อเลี่ยงสถานการณ์ที่ต้องอยู่คนเดียว จะได้ไม่เผลอเล่นสมาร์ตโฟน
  4. ละสายตาจากหน้าจอทุก 2 ชั่วโมง นอกจากจะไม่ต้องเสี่ยงกับอาการออฟฟิศซินโดรมแล้ว ยังช่วยถนอมสายตาของเราอีกด้วย
  5. และข้อสุดท้ายคือการยอมรับและเปิดใจ ว่าเรามีอาการ FOMO จริง ๆ ถึงจะสามารถเริ่มการบำบัดได้

 

หลายคนอาจจะมองว่า FOMO ไม่ใช่เรื่องร้ายแรงอะไร แต่อยากบอกว่าเจ้าอาการนี้จะค่อย ๆ กัดกินความสดใส และความสัมพันธ์ของคุณกับคนรอบข้างทีละนิด และแม้ว่าการรักษาอาการ FOMO อาจจะไม่จำเป็นต้องพึ่งแพทย์ เหมือนกับอาการอื่น ๆ แต่อาการเหล่านี้จะหายได้ ก็ขึ้นอยู่กับจิตใจที่แข็งแกร่งของคุณ และความใส่ใจจากคนรอบข้าง ที่จะช่วยให้คุณกลับมามีความสุข แม้ไม่ต้องตามเทรนด์เหมือนใคร ๆ

 

ขอบคุณข้อมูลจาก :www.ais.th,www.facebook.com/AIS , Sanook.com

 

เป็นยังไงกันบ้างกับบทความเช็กอาการติดโซเชียลของคุณ เพื่อน ๆ ชาวอินดี้ ฟรีแลนซ์คนไหน มีอาการก็รีบบำบัดด่วนเลยน้า พี่อินดี้เป็นห่วง นอกจากอาการนี้ ระวังเป็นอาการ Office Syndrome กันด้วยนะ วันหน้าพี่อินดี้จะพาบทความไหนมาฝากกันรอติดตามกันได้เลย

 

หากคุณกำลังมองหาพื้นที่ฝากผลงาน

หรือคุณคือ ฟรีแลนซ์สาย Marketing รับทำการตลาดออนไลน์

แต่ไม่รู้จะไปโชว์ของ โชว์ความสามารถที่ไหน

.

 

มาที่ JOBIndy สิ เราคือแพลตฟอร์มสำหรับฟรีแลนซ์ยุคใหม่

สมัครง่าย สมัครฟรี ไม่เสียค่าใช้จ่าย

สมัครเลยที่ 👉 www.jobindy.co 👈

------------------------------------------------------------

อย่าลืมกดไลก์ กดแชร์ กดติดตาม เพจ Job Indy และกด See First

รวมไปถึงช่องทาง

LineOA : @Jobindy

Twitter : @JOBIndyOficial

และสามารถเข้าไปโชว์ของ ขายงานได้ที่

www.jobindy.co

จะได้ไม่พลาดเรื่องราวดี ๆ เพื่อชาวฟรีแลนซ์

xx
กำลังโทรหา Video Call...